THE ONE สุขภาพ งานวิจัยตรวจพบ การทำ IF อาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

งานวิจัยตรวจพบ การทำ IF อาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

0 Comments

การทำ IF

สวัสดีท่านผู้อ่าน มีใครที่อยู่ในวงการสายสุขภาพทาน อาหารเพื่อสุขภาพ หรือว่าจะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักกันบ้าง? แน่นอนว่าถ้าใครที่อยู่ในวงการนี้ ก็ต้องคุ้นเคยกับการทำ IF หรือ Intermittent Fasting กันอย่างแน่นอนการทำ IF เป็นแนวคิดการควบคุมน้ำหนักโดยแบ่งออกเป็น ‘ช่วงอดอาหาร’ และ ‘ช่วงรับประทานอาหาร’ ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่ช่วง 12/12 ซึ่งหมายถึงการรับประทานอาหาร 12 ชั่วโมง แล้วก็อดอาหาร 12 ชั่วโมง จนถึงครบ 24 ชั่วโมง

ข้อดีของ การทำ IF

การอดอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือการทำ IF นั้น จะเป็นการเปลี่ยนกลไกการเผาผลาญของร่างกายอย่างต่อเนื่อง โดยการดึงไขมันส่วนเกินออกมาใช้และส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ในหลายปีที่ผ่านมามีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า IF มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณ ทั้งช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันส่วนเกิน ช่วยชะลอวัย และยังช่วยเสริมการทำงานของระบบความจำของสมองอีกด้วย ส่งผลให้การทำ IF นั้นได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้คนทั่วโลก

ข้อมูลชุดใหม่พบความเสี่ยงของ การทำ IF

นะเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) หรือสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ก็มีมติผ่าน ตีพิมพ์บทความจากการศึกษาพบว่า การจำกัดเวลารับประทานอาหารให้น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ IF นั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าข้อมูลนี้สร้างความตกใจในวงการสุขภาพ หรือผู้ที่กำลังทำ IF เป็นอย่างมากเพราะโมเดลการทำ IF 12/12 (อด 12 ชม. กิน 12 ชม.) นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และการอดอาหาร 12 ชม. ก็ดูจะเข้าข่ายความเสี่ยงนี้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่ได้ตรวจสอบการทำ IF โดยตรง แต่เพียงสังเกตระยะเวลาของกรอบเวลาการรับประทานอาหารของผู้เข้าร่วมเท่านั้น

การศึกษาติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา 20,078 คน (ในจำนวนนี้มีเพียง 414 คนเท่านั้นที่มีการทำ IF) โดยมีอายุเฉลี่ย 49 ปีครึ่งระหว่างชายและหญิง ทีมนักวิจัยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการกินของผู้เข้าร่วมการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ (NHANES) โดยรวมถึงผู้ที่จำกัดเวลารับประทานอาหารให้น้อยกว่า 8 ชั่วโมง หรือเข้ารับการทำ IF ตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2561 และเปรียบเทียบกับข้อมูลการเสียชีวิตของสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2546 ถึง 2562 การศึกษายังคงติดตามข้อมูลสุขภาพต่อไป ระยะเวลาเฉลี่ยคือ 8 ปี และยาวนานที่สุดคือ 17 ปี

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล

  • ผู้ที่จำกัดเวลารับประทานอาหารต่อวันให้น้อยกว่า 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้จำกัดเวลารับประทานอาหารมากถึง 91 เปอร์เซ็นต์
  • การทำ IF โดยจำกัดเวลารับประทานอาหารต่อวันให้น้อยกว่า 10 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเป็น 66 เปอร์เซ็นต์
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งจะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นอีก
  • การขยายช่วงเวลาการรับประทานอาหารให้มากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน นั้นมีส่วนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

หากผลลัพธ์ของการวิจัยชิ้นนี้นั้นเป็นจริง นั่นอาจส่งผลต่อรูปแบบการรับประทานอาหาร และสุขภาพของคนทั่วโลกที่กำลังคุมอาหาร และดูแลร่างกายด้วยวิธีการทำ IF เลยก็เป็นได้

งานวิจัยยังไม่สมบูรณ์ ด้วยข้อจำกัดของตัวอย่างการศึกษา

แม้ว่าผลการศึกษานี้อาจดูน่าตกใจสำหรับผู้ที่ทำ IF เพราะนอกจากผลจะรุนแรงแล้ว ปัจจัยในการศึกษายังถือว่าค่อนข้างส่งผลต่อความน่าเชื่อถืออีกด้วย เนื่องจากมีผู้ทำไปแล้วกว่า 20,0000 คน จึงมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี แต่ถึงอย่างนั้นการศึกษาก็ยังมีข้อจำกัดดังที่กล่าวมาข้างต้น

  1. จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาตัวอย่างที่มีรูปแบบการรับประทานอาหารแบบ IF มีเพียง 414 คนจากทั้งหมด ซึ่งยังไม่ได้เป็นแบบเฉพาะเจาะจงอีกด้วย
  2. ข้อมูลจำนวนมากในการศึกษานี้ถูกรายงานโดยภาพกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง ซึ่งรายงานอาจไม่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ตามความเป็นจริง อาจมาจากความรู้สึก อคติ ความเข้าใจผิด หรือผู้เข้าร่วมไม่สามารถจำรายละเอียดที่แท้จริงทั้งหมดได้
  3. ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับรายการหรือประเภทของอาหารที่ผู้เข้าร่วมในการศึกษานี้รับประทาน จึงส่งผลต่อการวิเคราะห์ผลลัพธ์ เนื่องจากทีมวิจัยไม่สามารถคำนวณปริมาณหรือประเมินความเหมาะสมของสารอาหารที่ผู้ที่ทำ IF รับประทานได้ในช่วงเวลาดังกล่าวได้
  4. การศึกษาขาดการเปรียบเทียบในหลายแง่มุม เช่น ความแตกต่างในด้านน้ำหนักตัว ความเครียด ปัญหาสุขภาพอื่นๆ และความเสี่ยงโรคหัวใจที่มีอยู่แล้วของในแต่ละบุคคลที่เป็นตัวอย่างการวิจัย หรือปัจจัยอื่นๆ ที่มาเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และระดับไขมันในเลือด เป็นต้น พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลของกรอบเวลาในการรับประทานอาหารแต่ละประเภท ไม่ว่าจะมีผลกระทบต่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจที่แตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้นอย่าพึงตื่นตระหนกกันไป คุณควรรอผลการศึกษาอื่นๆ เพื่อยืนยันว่าผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นจริงหรือไม่ หรือมีแง่มุมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อผลการศึกษานี้มากน้อยเพียงใด?

สรุปเนื้อหา

ศาสตราจารย์ ดร. วิกเตอร์ เหวินเซ่ จง หนึ่งในผู้เขียนรายงานการศึกษานี้ ให้ความเห็นว่าการทำ IF หรือการอดอาหารเป็นระยะได้รับความนิยมมากขึ้นในการลดน้ำหนัก และดูแลสุขภาพหัวใจของคุณในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการจำกัดการบริโภคอาหารในช่วง 8 ชั่วโมง แต่ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับการทำ IF ยังไม่ชัดเจน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ยังคงมีข้อจำกัด และหลายแง่มุมยังไม่ถูกค้นพบจึงไม่สามารถยืนยันผลลัพธ์ได้แน่ชัด ในระหว่างนี้ควรใส่ใจกับการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ การควบคุมพลังงานให้เหมาะสมกับสิ่งที่ร่างกายต้องการ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด และการพักผ่อนให้เพียงพอยังคงเป็นหนทางสู่สุขภาพที่ดี และลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพที่ทุกคนสามารถทำได้ไม่ว่าจะทำ IF หรือไม่ก็ตาม

อ้างอิง:

https://newsroom.heart.org/news/8-hour-time-restricted-eating-linked-to-a-91-higher-risk-of-cardiovascular-death?fbclid=IwAR3Ug0gqm9w8abnNzNlxflz8YR4AzKcklrOTu4O6mzW7cBc3137Uniw8Yo0

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *